โครงการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนทางตาผู้ป่วยเบาหวานโดย Fundus camera

โครงการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนทางตาผู้ป่วยเบาหวานโดย Fundus camera ( รอบเก็บตก )  วันที่ 29 - 31 พ.ค. 67  สถานที่ตึกอำนวยการโรงพยาบาลห้วยแถลง   ชั้น 1กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ร่วมกับกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ  และองค์รวมโรงพยาบาลห้วยแถลง   ได้จัดบริการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนทางตาผู้ป่วยเบาหวานโดยเครื่อง Fundus camera   มีผู้ป่วยเบาหวานเข้ารับบริการทั้งหมด 94  คน

ดำเนินการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (EKG) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

วันที่ 12-14 มิถุนายน 2567 แพทย์หญิงวิภา อุทยานินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยแถลง มอบหมายให้ นายแพทย์กล้าณรงค์ ระติเดช  นางสาววรรณิศา แก้วศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการผู้จักการรายกรณีเบาหวาน  คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุ่มงานการพยาบาลและกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ดำเนินการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram  (EKG) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการคัดกรองพบความผิดปกติ หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว Atrial Fibrillation (AF) จากชุมชน   พบผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram  (EKG)ผิดปกติ   12  ราย   ส่งต่อโรงพยาบาลมหาราช  จำนวน  2  ราย

ประชุมวิชาการ การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการวาง...

วันที่ 19-20 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 -16.00 น. นายแพทย์สุปรีชา ขวัญจันทึก แพทย์ที่ปรึกษาดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และเจ้าหน้าที่แต่ละจุดบริการโรงพยาบาลห้วยแถลง ประชุมวิชาการ การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ระยะกลาง (IMC) ณ ห้องประชุมชั้น 2 ตึกผู้ป่วยในหญิง

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลห้วยแถลง จัดบุคลากรออกหน่วยลงพื้นที่

ตั้งเเต่วันที่ 17-28 มิถุนายน 2567 ช่วงเวลา 08.30 - 14.30 น.กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลห้วยแถลง จัดบุคลากรออกหน่วยลงพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านเเสนสุข เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบหลุมร่องฟันเเท้ เเละเคลือบฟลูออไรด์ ให้เเก่เด็กนักเรียนกลุ่มอายุ 6-12 ปี จำนวน 112 คน เพื่อตอบสนองตัวชี้วัด (KPI) ปีงบประมาณ 2567-2568 โดยใช้ยูนิตทันตกรรมเคลื่อนที่ (mobile unit) ที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลห้วยเเถลงเพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของประชาชนมากยิ่งขึ้น ลดการเดินทางออกนอกโรงเรียน ลดความเสี่ยงของนักเรียน โดยจะมีการวางเเผนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรมในโรงเรียนอื่นๆ เเละกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เพิ่มเติมอีกต่อไป

ไข้หูดับ

โรคหูดับ “ โรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis)” โรคหูดับ สามารถเข้าสู่ร่างากยของคนได้ 2 ทาง คือการบริโภคเนื้อสุกร เครื่องในสุกร หรือ เลือด ที่ไม่ผ่านการทำให้สุก เช่น ลาบ ลู่ ปิ้งย่างที่ไม่สุกผ่านทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสโรค หรือ สุกรที่เป็นโรคอาการของผู้ป่วยโรคหูดับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะมีอาการ ดังนี้มีไข้สูงปวดเมื่อยตามตัวปวดศีรษะเวียนศีรษะปวดตามข้อมีจ้ำเลือดตามตัว ตามผิวหนังซึมคอแข็งชักมีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกเมื่อเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง และ กระแสเลือดทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบข้ออักเสบม่านตาอักเสบและเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เชื้อจึงสามารถลุกลาม จึงทำให้เกิดหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียง และ ปลายประสาททรงตัวทำให้หูตึง หูดับจนกระทั่ง หูหนวกเวียนศีรษะ และ เดินเซตามมาได้ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้ และ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที ผู้ป่วยจะเสียการได้ยิน และ อาจชีวิตในเวลาต่อมาการป้องกัน โรคหูดับไม่รับประทานเนื้อหมูที่ไม่สุกไม่กินหมูป่วย หรือ หมูที่ตายจากโรค และ ควรเลือกบริโภคหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากกุกรที่ป่วยล้างมือ ล้างเท้า หรือ อาบน้ำให้สะอาดหลังสัมผัสสุกรเมื่อมีแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกรกำจัดเชื้อจากฟาร์ม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้สุกรป่วย

ความรู้เรื่องเห็ดพิษ

เห็ดมีประโยชน์ทางโภชนาการ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีมีใยอาหาร โปแตสเซียมสูง มีโซเดียมและน้ำตาลต่ำ และยังอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ซิลิเนียม ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โปแตสเซียมทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ สมดุลของน้ำในร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทต่างๆ มีทองแดง ทำหน้าที่ช่วยเสริมการทำงานของธาตุเหล็ก นอกจากนี้ เห็ดยังประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) เช่น กลูแคน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยบางชนิดทำปฏิกิริยาร่วมกับแมคโครฟาจ (macrophage) ที่คอยทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆ ซึ่งเห็ดที่มีโพลีแซคคาไรด์สูง ได้แก่ เห็ดหอม เห็ดนางรม เห็ดหูช้าง และเห็ดกระดุม   เป็นต้น และยังมีเห็ดอื่นๆ ที่นิยมนำมาบริโภค เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดแชมปิญอง เห็ดโคน เห็ดออรินจิและเห็ดเข็มทอง ที่สำคัญ ก่อนนำเห็ดมาปรุงอาหาร ต้องล้างน้ำให้สะอาดหลายๆ ครั้ง หรือล้างตามขั้นตอนการล้างผัก หลังจากนั้นค่อยนำมาปรุงอาหาร และปรุงให้สุกทุกครั้ง

ประชุมชี้แจงการดำเนินงานระบบบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี งบประมาณ 2567

วันที่ 18 มิถุนายน 2567 เวลา 14.00 -15.00 น. งานระบาดวิทยาฯ กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลห้วยแถลง ร่วมกับ สสอ.ห้วยแถลง จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานระบบบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี งบประมาณ 2567 ให้กับสถานบริการสาธารณสุขทั้ง 13 แห่ง ในอำเภอห้วยแถลง กลุ่มเป้าหมาย   ได้แก่ 1. ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 2. บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป 3. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ 4. โรคอ้วน (น้ำหนัก>100 กิโลกรัม หรือ BMI >35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) 5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผ่านระบบ Google Meet

พิธีเปิดกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่นธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็...

วันที่ 13 มิถุนายน 2567 แพทย์หญิงวิภา อุทยานินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยแถลง ได้มอบหมายให้ นางอรทัย เขินกลาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลห้วยแถลง เข้าร่วมพิธี ในพิธีเปิดกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่นธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยแคน อำเภอห้วยแถลงจังหวัดนครราชสีมา และจัดหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน ร่วมติดตามขบวนเดิน วิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์ ผ่านอำเภอจักราช และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นคราชสีมาเป็นประธานในครั้งนี้

โรงพยาบาลห้วยแถลง จัดกิจกรรม Root cause analysis (RCA) เพื่อพัฒนาการดูแล...

วันที่ 12 มิ.ย.2567 คณะกรรมการ PCT (patient care team) โรงพยาบาลห้วยแถลง จัดกิจกรรม Root cause analysis (RCA) เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลห้วยแถลง เพื่อลดอัตราการตายปริกำเนิดและพัฒนาคุณภาพการดูแลหญิงตั้งครรภ์  ณ ห้องประชุมตึกอำนวยการชั้น 3

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนคนไทยในอำเภอห้วยแถลงที่อยู่ใน 5 กลุ่มเสี่ยง

#ประชาสัมพันธ์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เชิญชวนประชาชนคนไทยในอำเภอห้วยแถลงที่อยู่ใน 5 กลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 เริ่มตั้งแต่ 19 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลห้วยแถลงและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในอำเภอห้วยแถลง ตามที่อยู่อาศัยจริง5 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1. ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน2. บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป3. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ4. โรคอ้วน (น้ำหนัก>100 กิโลกรัม หรือ BMI >35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

ขอขอบคุณผู้บริจาค คุณเรณุมาศ จักร์พิมพ์และคุณรักษ์ฤมล เจียกโคกกรวด

#โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ คุณเรณุมาศ จักร์พิมพ์และคุณรักษ์ฤมล เจียกโคกกรวด บริจาคน้ำดื่ม จำนวน 11 แพ็ค ให้กับโรงพยาบาลห้วยแถลง

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุ...

วันที่ 11 มิถุนายน 2567 กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม  โรงพยาบาลห้วยแถลง   จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเครือข่ายตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 3 ตึกอำนวยการโรงพยาบาลพยาบาลห้วยแถลง ให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ อสม. ผู้นำชุมชน ครูอนามัยโรงเรียน ตัวแทนจากอบต. และอสร.จำนวนทั้งหมด 150 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแถลง