ขอขอบคุณผู้บริจาค

โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ พ่อบุญสม แม่จำปี แสนบุญศิริ บ้านตะแกรง ตำบลหลุ่งตะเคียน ขอร่วมบริจาคให้โรงพยาบาลห้วยแถลง จำนวน 1,500 บาท 

ขอขอบคุณผู้บริจาค

โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ คุณไพรัช ภูดวงกิจ บริจาค มะตูมแห้ง จำนวน 1 ปี๊บ ให้โรงพยาบาลห้วยแถลงไว้สำหรับต้มน้ำสมุนไพรให้ผู้ป่วยค่ะ

ขอขอบคุณผู้บริจาค

โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ ผอ.ธาดา ตามเมืองปัก ผอ.สก.ร.ร.คลองเมืองพิทยาคม รองนภาพร วงศ์คง รอง ผอ.9 บริจาค น้ำดื่ม จำนวน 6 แพ็คและนมกล่องใหญ่ จำนวน 2 กล่อง ให้โรงพยาบาลห้วยแถลง

ขอขอบคุณผู้บริจาค

โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ คุณวุฒิชัย คุณรุ่งฤดีและเด็กชายคณิตกรณ์ คำกองแก้ว บริจาค เงินสด จำนวน 10,000 บาท น้ำดื่ม จำนวน 10 แพ็คและซีวิท จำนวน 5 แพ็ค ให้โรงพยาบาลห้วยแถลง

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

ลักษณะโรคเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคนสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 ชนิด (type) คือ A, B และ C ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วนชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการอย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้เกิดการระบาดเชื้อไวรัสชนิด A แบ่งเป็นชนิดย่อย (subtype) ตามความแตกต่างของโปรตีนของไวรัสที่เรียกว่า hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N) ชนิดย่อยของไวรัส A ที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในคนที่พบในปัจจุบันได้แก่ A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2) ส่วนไวรัสชนิด B ไม่มีแบ่งเป็นชนิดย่อยเนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มียีโนมเป็น RNA แยกเป็น 7-8 ชิ้น ทำให้ยีโนมมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ค่อนข้างบ่อย เรียกว่า genetic variation การเปลี่ยนแปลงยีโนมทำให้แอนติเจนซึ่งเป็นผลผลิตของยีนส์เปลี่ยนแปลงไปด้วย คือมี antigenic variation ซึ่งมี 2 แบบคือAntigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเกิด RNA point mutation ทำให้ amino acid เพียงหนึ่งหรือมากกว่านั้นเปลี่ยนไป แต่ไม่มากพอที่จะทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไป antigenic drift ทำให้เกิดการระบาดในวงไม่กว้างนักAntigenic shift เกิดขึ้นจากขบวนการ gene reassortant คือการที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A 2 สายพันธุ์เกิดการติดเชื้อในเซลล์หนึ่งเซลล์ มีการนำยีโนมจากไวรัสสายพันธุ์หนึ่งไปใส่ในอนุภาคของไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่งในเซลล์เดียวกัน ทำให้เกิดอนุภาคของไวรัสชนิดใหม่ ซึ่งแอนติเจนเปลี่ยนไปจนทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไปจนเกิดชนิดย่อย (subtype) ใหม่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ (pandemic) มาแล้วในอดีตปัจจุบันสามารถพบ hemagglutinin (H) ที่แตกต่างกันถึง 15 ชนิด และ neuraminidase (N) 9 ชนิดของไวรัสชนิด A แต่มีเพียง H1N1 และ H3N2 ที่พบติดเชื้อในคนบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของแอนติเจนที่เกิดได้บ่อยทำให้มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นต่างสถานที่และต่างระยะเวลา ดังนั้นจึงต้องมีระบบการเรียกชื่อเพื่อป้องกันความสับสน คณะผู้เชี่ยวชาญได้กำหนดให้เรียกชื่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามหลักสากลทั่วโลกดังนี้ ชนิดไวรัส/ชื่อเมืองหรือประเทศที่พบเชื้อ/ลำดับสายพันธุ์ที่พบในปีนั้น/ปี ค.ศ.ที่แยกเชื้อได้/ชนิดย่อยของ H และ N เช่น A/Sydney/5/97(H3N2), A/Victoria/3/75/(H3N2)การศึกษาด้านนิเวศวิทยาบ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกำเนิดมาจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสัตว์ตระกูลนก (avian influenza virus) สัตว์นกน้ำ (aquatic bird) เป็นแหล่งรังโรค (reservoir) เชื้อไวรัสสามารถแบ่งตัวได้ในลำไส้ของสัตว์ประเภทเป็ดป่า (wild duck) โดยไม่ทำให้สัตว์เกิดอาการ สัตว์เหล่านี้ขับถ่ายเชื้อไวรัสจำนวนมากออกมาพร้อมอุจจาระ ในแต่ละปีจะมีลูกนกเป็ดน้ำจำนวนมากเกิดขึ้นทั่วโลกลูกนกเหล่านี้ได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำ เมื่อลูกนกเป็ดน้ำโตขึ้นก็จะย้ายถิ่นและแพร่กระ จายเชื้อไวรัสไปอย่างกว้างขวางการระบาดของ avian influenza บนเกาะฮ่องกงในปี พ.ศ.2540 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส H5N1 บ่งชี้ว่าเชื้อแพร่กระจายจากนกที่อยู่ตามชายฝั่ง (shorebird) ไปสู่เป็ดโดยการปนเปื้อนของอุจจาระ จากนั้นแพร่ไปสู่ไก่และปักหลักอยู่ในตลาดขังสัตว์ปีกมีชีวิต (live bird market) นกที่อยู่ตามชายฝั่งและเป็ดไม่เป็นโรคเพราะเป็นแหล่งเก็บเชื้อโดยธรรมชาติ ส่วนไก่เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงและตายมาก คนติดเชื้อมาจากไก่ทางอุจจาระที่ปนเปื้อน (fecal oral) เชื้อไวรัสที่ผ่านสัตว์มาหลายเผ่าพันธุ์จะมีฤทธิ์ก่อโรคได้สูงในไก่และคน การผสมกัน (reassortment) ระหว่างไวรัสต่างเผ่าพันธุ์ (species) เกิดขึ้นได้ง่ายอาจทำให้เพิ่มชนิดย่อยใหม่ที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในคนได้ มีการศึกษาว่าการใช้อุจจาระเป็ดไปเลี้ยงปลาจะนำไปสู่การแพร่เชื้อไวรัส avian influenza ไปสู่หมู เชื้ออาจแพร่ไปในอาหารและซากนกที่นำไปเลี้ยงหมูวิธีการติดต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อทางการหายใจ โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น เช่น โรงเรียน โรงงาน การแพร่เชื้อจะเกิดได้มาก นอกจากนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย (droplet transmission) จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปากระยะฟักตัวประมาณ 1-3 วันระยะติดต่อผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการและจะแพร่เชื้อต่อไปอีก 3-5 วันหลังมีอาการในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กอาจแพร่เชื้อได้นานกว่า 7 วัน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อในช่วงเวลานั้นได้เช่นกันการวินิจฉัยแยกโรคการวินิจฉัยแยกโรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้ออื่นโดยอาศัยลักษณะทางคลินิกอย่างเดียวทำได้ยาก เชื้ออื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ Mycoplasma pneumoniae, adenovirus, respiratory syncytial virus (RSV), rhinovirus, parainfluenza virus, และ Legionella spp.การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเสมหะที่ป้ายหรือดูดจากจมูกหรือลำคอ หรือตรวจพบแอนติเจนของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ใน epithelial cell จาก nasopharyngeal secretion โดยวิธี fluorescent antibody หรือตรวจพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อในซีรั่มอย่างน้อย 4 เท่าในระยะเฉียบพลันและระยะพักฟื้น โดยวิธี haemaglutination inhibition (HI) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน หรือ complement fixation (CF) หรือ Enzyme - linked immunosorbent assay (ELISA)อาการและอาการแสดงอาการจะเริ่มหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้แบบทันทีทันใด ( 38 ซ ในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กมักจะสูงกว่านี้) ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก และอาจพบอาการคัดจมูก เจ็บคอ ถ้าป่วยเป็นระยะเวลานานอาจจะมีอาการไอจากหลอดลมอักเสบ (post viral bronchitis) อาการจะรุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา (common cold) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดบวม ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต ได้แก่ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่องเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยยาแอสไพรินเป็นเวลานานหญิงตั้งครรภ์ระยะที่ 2 หรือ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูง

การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในปี 2566 ที่หอผู้ป่วยในชาย ในวันที่ 6 กันยายน 2566

วันพุธ ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566 โรงพยาบาลห้วยแถลง นำโดย แพทย์หญิงวิภา อุทยานินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยแถลง ได้ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในปี 2566 โดยจำลองเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ บริเวณหอผู้ป่วยในชายโรงพยาบาลห้วยแถลง โดยมีการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย การใช้อุปกรณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยใช้อุปกรณ์ระงับเหตุ และการอพยพหนีไฟอย่างถูกวิธี

ประกาศโรงพยาบาลห้วยแถลง เรื่อง นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล

ด้วยโรงพยาบาลห้วยแถลง มีความห่วงใยเรื่องการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทํางานของ เจ้าหน้าที่ทุกคน เห็นควรที่จะให้มีการดาเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทํางาน ควบคู่ไปกับงาน ประจําของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จึงกําหนดนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทํางาน โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้๑. โรงพยาบาลห้วยแถลงจะปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ ทํางาน รวมถึงกฎหมายและมาตรฐานสากลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ๒. โรงพยาบาลห้วยแถลง ถือว่าความปลอดภัยในการทํางานเป็นหน้าที่ และความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของ บุคลากรทุกคน ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นําสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากร ตระหนักถึงการ ทํางานด้วยความปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่กําหนดขึ้นโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ๓. โรงพยาบาลห้วยแถลง จะสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและวิธีการปฏิบัติงานที่ ปลอดภัยของทุกหน่วยงาน ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม ๔. หัวหน้างานทุกคนทุกระดับ ต้องมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เรื่องการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการ ทํางานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน แนะนําฝึกสอนและกระทําตนให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ เป็นตัวอย่างแก่เจ้าหน้าที่ และควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่มีและใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสม ๕. เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องคํานึงถึงสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนผู้มาใช้ บริการเป็นสําคัญ 5. โรงพยาบาลห้วยแถลงจัดให้มีบริการด้านอาชีวอนามัย ให้กับบุคลากรเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบอาชีพวัยทํางาน ประชาชนทั่วไป ตลอดจนจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมแก่ผู้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ๗. โรงพยาบาลห้วยแถลง จะสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทํางาน ของผู้ประกอบอาชีพวัยทํางาน ประชาชนทั่วไป ตลอดจนจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมแก่ผู้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 

ประชาสัมพันธ์ เปิดรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ในวันที่ 10 พ.ค.66 เวลา 13.00 น. - 16.00 น.โรงพยาบาลห้วยแถลง เปิดรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ ตึกอำนวยการชั้น 1 โรงพยาบาลห้วยแถลงฝากแจ้งญาติพี่น้อง ประชาชนที่สนใจจะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ถือบัตรประชาชน มายื่นฉีดวัคซีนได้เลยแนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด  ให้ฉีด ปีละ 1 ครั้ง ช่วงก่อน ฤดูฝน หรือ เดือน พ.ค. - ส.ค. ในกลุ่มเสี่ยงและผู้สมัครใจฉีดค่ะ คล้ายการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่